วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553







1. ชื่อเรื่อง



สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

2. ข้อมูลเบื้องต้น / S W O T
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เป็นองค์กรวิชาชีพของสื่อมวลชนซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2543 โดยการรวมกันของสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย (พ.ศ.2498 - พ.ศ.2543) กับสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (พ.ศ.2508 - พ.ศ.2543) โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความเป็นเอกภาพในองค์กรวิชาชีพสื่อสารมวลชน ให้สามารถทำหน้าที่ผดุงไว้ซึ่งมาตรฐานทางวิชาชีพ และจริยธรรมของสื่อมวลชนไทยได้อย่างเข้มแข็งยิ่งขึ้น
วิสัยทัศน์ เป็นสถาบันหลักของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน

SWOT
S= Strength สมาคมมีบทบาทในการดูแลสมาชิกครอบคลุมทั้งสวัสดิการรักษาพยาบาล ประกันชีวิต คลอดบุตร ทุนการศึกษาบุตร สวัสดิการมรณกรรม และดูแลนักข่าวอาวุโสโดยการจัดตั้งกองทุน เหยี่ยวปีกหัก เพื่อให้ความช่วยเหลือ
W = Weakness
-สมาคม จัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่สำหรับสมาชิกและผู้สนใจใน 4 รูปแบบ
1. หนังสือวันนักข่าว เผยแพร่ปีละ 1 ฉบับ ทุกวันที่ 4 มีนาคม
2. จุลสารราชดำเนิน เป็นวารสารราย 3 เดือน
3. จดหมายข่าวรายเดือน
4. การเผยแพร่ทางสื่ออิเลกทรอนิกส์ www.tja.or.th
O = Opportunity
- มีประชนชนโดยส่วยใหญ่ยังคงรับชม และติดตามข่าวสาร และสาระความบันเทิงของกิจการสื่อสารมวลชน ยังเหนี่ยวแน่นอยู่
T = Threat
- การมีสื่อใหม่ เข้ามามีบทบาทมากขึ้น
- ส่วนแบ่งทางการตลาด ยังคงมีมากอยู่
- ข้อมูลข่าวอาจล่าช้าเพราะการพิมพ์
3. วัตถุประสงค์ (Objective)
1. ส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งเสรีภาพของการเสนอข่าวและความคิดเห็น
2. ให้ประชาชนได้ทราบข่าวเฉพาะที่เป็นจริง การเสนอข่าวสารใด ๆ ออกพิมพ์โฆษณาเผยแพร่ ถ้าปรากฏว่าไม่ตรงตามความเป็นจริง ต้องรีบจัดการแก้ไขให้ถูกต้องโดยไว
3. ในการได้มาซึ่งข่าว ภาพ หรือข้อมูลอื่นใดมาเป็นของตน ต้องใช้วิธีการที่สุภาพและซื่อสัตย์เท่านั้น
4. เคารพในความวางใจของผู้ให้ข่าว และรักษาไว้ซึ่งความลับของแหล่งข่าว
5. ปฏิบัติหน้าที่ของตน โดยมุ่งหวังต่อสาธารณประโยชน์ ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวหรือหมู่คณะใด ๆ โดยไม่ชอบธรรม
6. ไม่กระทำการอันเป็นการบั่นทอนเกียรติหรือความสามัคคีของเพื่อนร่วมวิชาชีพ

4. กลุ่มเป้าหมายหลัก (Main Target)
ด้านกายภาพ
- ชาย/หญิง/เด็ก/คนชรา
- โสด/สมรส
- ไม่จำกัดอายุ
ด้านจินตภาพ
- เป็นบุคคลที่ชอบดูรับชมข่าวสาร สาระบันเทิง และรายการทางสื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ และสื่ออื่นๆ
- เป็นคนชอบอยู่บ้านดูทีวี ฟังวิทยุ

5. แนวความคิด (Concept)
เครือข่ายขับเคลื่อน ประชาชนมีสุข
6. เหตุผลสนับสนุนแนวคิด (Support)
ให้ความรู้ความบันเทิงพร้อมกับการก้าวไปข้างหน้าเพื่อรับใช้ประชาชนอย่างเต็มที่

7. อารมณ์และความรู้สึก (Mood & Tone)
มุ่งมั่น ตั้งใจ ช่วยเหลือ

8. ผลตอบสนอง (Desired response)
1.สามารถเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารของประชาชนและสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนได้
2.ประชาชนรับรู้ข่าวสารได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิเคราะห์โฆษณา



1.ชื่อเรื่อง kiev_jewelry
2.ข้อมุลเบื้องต้น โรงงานจิวเวลเคียฟ, การผลิตเกือบครึ่งหนึ่งของเครื่องประดับในยูเครนทั้งหมดเป็นผู้นำเถียงไม่ได้ในการผลิตเครื่องทองและเงินบนดินแดนของยูเครน เป็นวันที่กลับไป 1936 ขณะที่โรงพยาบาลพื้นฐานขนาดเล็กของนาฬิกาเครื่องประดับและโรงงานผลิตเครื่องประดับก่อตั้งขึ้น. โรงงานเครื่องประดับ upholds ศตวรรษประเพณีที่ 19 ของการอบรมช่างฝีมือและเครื่องประดับงานของ Joseph Marshak, ที่รู้จักกันดีไกลเกินดินแดนของยูเครน . เครื่องทดสอบการรวมกันครั้งเทคนิคของมืองานหัตถกรรมและส่วนใหญ่เทคโนโลยีการปรับปรุงผลที่ยอดเยี่ยมในเงินทองและ. โรงงานเครื่องประดับเป็นสภาวะ ด้วยเครื่องมือพิเศษหลายและประเภทของอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กจำนวนมากมักจะการประชุมเชิงปฏิบัติการ ไม่สามารถจ่ายได้ โดยจะใช้เทคนิคที่ทันสมัยที่สุดและอุปกรณ์เช่นการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์, แกะสลักคอมพิวเตอร์, เลเซอร์ฮอลล์ - เครื่องหมายและคนอื่น ๆ
การแบ่งประเภทของโรงงานเครื่องประดับหมายเลขเคียฟเกี่ยวกับ 3,500 รายการและสามารถเสริมรายเดือน Such an คอลเลกชันดังกล่าวอย่างกว้างขวางและให้โอกาสส่วนใหญ่ ๆ คือลูกค้าสามารถเลือกความต้องการบางสิ่งบางอย่างเพื่อลิ้มรสของเขา " "ความละเอียดประณีตอียิปต์และประเพณี"เป็นสโลแกนของโรงงานซึ่งเป็นเวลาเกือบศตวรรษที่ได้ประหลาดใจและพอใจของลูกค้า มีหลายชื่นชมของเคียฟการผลิตโรงงานเครื่องประดับไม่เพียง แต่ในยูเครน แต่ยังต่างประเทศเป็น โรงงานมีส่วนร่วมในงานแสดงระหว่างประเทศต่างๆในญี่ปุ่น, มาเลเซีย, เยอรมัน, วิตเซอร์แลนด์, สหราชอาณาจักรและอิตาลีที่ผลิตได้รับความนิยมอย่างสูง. ให้ความสำคัญกับรายละเอียดความคิดสร้างสรรค์ - crafted เครื่องประดับด้วยมือศิลปะที่มีคุณภาพที่ไม่ซ้ำกันและเป็นต้นฉบับการออกแบบที่กำหนดเอง -- เป็นสิ่งที่เคียฟเป็นโรงงานจิวเวลทั้งหมด
3.วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างแนวคิดใหม่ๆๆให้แก่บริษัท
2. เพื่อนำเสนอสินค้าในรูปแบบที่แตกต่าง
3. เพื่อสนองความต้องการของผุ้บริโภค
4.กลุ่มเป้าหมายหลัก
1.กลุ่มบุคคลที่ชอบเพชรและอัญมณี
2.ชาวต่างชาติ
3.คนสำคัญภายในประเทศ
5.แนวความคิด
1. สร้างสรรค์สิ่งใหม่ด้วยรูปแบบที่ใกล้ตัว
2. ความสวยงามของตัวสินค้า
3. ประโยชน์ใช้สอย
6.เหตุผลสนับสนุนแนวคิด
1.ความคิดที่แปลกใหม่ การโฆษณาที่มุ่งเน้นการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ๆๆให้กับอัญมณี
7.อารมณ์และความรู้สึก
จะเป็นแนวสร้างสรรค์ เรียบๆๆแต่มีสไตล์ที่บ่งบอกถึงความเป้นอัญมณีที่ยอดเยี่ยม สีสันสะดุด ตา และการใช้เพชรได้ทุกสถานที่และรูปแบบงาน
8.ผลตอบสนอง

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนวโน้มการนำเสนองานนิเทศศาสตร์


New Media แนวโน้มใหม่ของวงการโฆษณา

ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ผมสังเกตเห็นสีสันใหม่ที่น่าสนใจในแวดวงโฆษณา ไม่เฉพาะแต่ในเมืองไทยเท่านั้น แต่ดูเหมือนจะเกิดขึ้นทั่วโลก นั่นคือการโฆษณาในรูปแบบใหม่ๆ สื่อใหม่ๆ เทคนิคการนำเสนอใหม่ๆ ที่ชวนให้ลูกค้ารู้สึกสะดุด และให้ความสนใจ หรือที่คนโฆษณาเรียกกันว่า “โดน” ใจลูกค้าเช่น ข้อความโฆษณาหลังรถ บขส.ปรับอากาศ ของไทยประกันชีวิต ที่เขียนว่า “อยากเปลี่ยนไปนั่งเครื่องบิน” และ “อยากขับรถส่วนตัวกลับบ้านบ้าง”หรือโฆษณาที่ประตูลิฟท์ในห้างสรรพสินค้า ที่ดูไกลๆเหมือนประตูลิฟท์หนีบมือคน แต่จริงๆแล้วเป็นโฆษณาของน้ำผักผลไม้ยี่ห้อหนึ่ง โฆษณาประเภทที่ผมกล่าวถึงนี้ คนในวงการโฆษณาส่วนใหญ่เรียกว่า “New Media” แต่ถ้าถามต่อว่า New Media คืออะไร คำตอบที่ได้ก็ดูเหมือนจะยังไม่ชัดเจนทีเดียว ผมเลยอยากลองสรุปความหมายของ New Media ตามความเข้าใจของผมว่าหมายถึง “การโฆษณาโดยใช้สื่อ รูปแบบ หรือวิธีนำเสนอใหม่ๆที่แตกต่างไปจากสื่อ หรือวิธีการทั่วๆไปที่เคยใช้กันอยู่ เพื่อเพิ่มความสนใจในการรับรู้ข่าวสารที่นำเสนอต่อกลุ่มเป้าหมาย”
ประเภทของ New Media ออกมาเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1.เป็นการใช้สื่อโฆษณาใหม่ที่ยังไม่เคยถูกใช้มาก่อน (New Type of Media) จะว่าไปแล้วเมื่อ 6-7 ปีก่อนตอน internet ได้รับความนิยม การโฆษณาผ่าน internet ไม่ว่าจะในรูปของการทำ Web site ของบริษัท Banner Ad ใน Web ถือได้ว่าเป็น New Media ปัจจุบัน สื่อประเภทนี้แม้ว่าจะเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย

2. เป็นการอาศัยสภาพแวดล้อม ทำเล หรือลักษณะเฉพาะของสื่อโฆษณาแบบเดิมๆที่มีอยู่ของสื่อมาปรับให้เข้ากับ..หรือรูปแบบของโฆษณาที่นำเสนออย่างสอดคล้องกัน เพื่อเรียกร้องความสนใจ และสร้างความเข้มแข็งให้ข้อความที๋โฆษณา จะเห็นได้ว่าโฆษณาท้ายรถ บขส. ของไทยประกันชีวิต ชุดที่ผมกล่าวถึงไว้แล้ว น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีของ New Media แบบนี้ รวมถึงโฆษณา Feldene Gel ที่เป็นยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อที่เลือกใช้รูปข้อพับแขน ข้อพับขาของคน ติดอยู่ที่บานพับประตูอัตโนมัติของรถเมล์บ้านเรา เวลาประตูเปิด ปิด ก็จะเห็นภาพการยืดหดของข้อพับแขนหรือขา

3.เป็นการหาวิธีใหม่ๆในการนำเสนอที่ต่างไปจากวิธีการเดิมๆ แต่วิธีการนำเสนอใหม่ๆนี้ สอดคล้องหรือเพิ่มน้ำหนักให้กับการนำเสนอ เช่น โปสเตอร์โฆษณาเชิญชวนให้คนบริจาคดวงตาของสภากาชาดอินเดียที่ติดอยู่ตามที่สาธารณะทำโดย สื่อเป็นรูปเด็กตาบอด ยืนหน้าตรง มีข้อความเขียนว่า “ถ้าคุณเข้ามาใกล้พอ และมองตาเขา บางทีคุณอาจจะได้เห็นตาคุณในตาของเขา” ถ้าเราเข้าไปมองดวงตาที่มองไกลๆจะเป็นเป็นรูอยู่ เราจะมองเห็นเงาของดวงตาเรา เพราะเขาเอากระจกเงาติดไว้ในตำแหน่งที่เป็นดวงตาของเด็กตาบอดในโปสเตอร์

4.เป็นการนำสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของคนทั่วๆไป ที่ไม่น่าจะเป็นสื่อโฆษณาได้มาปรับใช้เป็นสื่อโฆษณา เช่น การโฆษณาหลัง สลิบ ATM หรือใบเสร็จที่ซื้อของในซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือในญี่ปุ่นมีการตีพิมพ์โฆษณาบนกระดาษชำระที่ให้บริการในห้องน้ำสาธารณะโดยมีแนวคิดว่า ระหว่างอยู่ในห้องสุขาลูกค้าจะว่างไม่มีอะไรทำ การโฆษณาบนกระดาษชำระจึงน่าจะถูกอ่านมากกว่าสื่อปกติ
ในอเมริกาเอง ยาฮูเคยเสนอเงินจำนวนหนึ่งให้แก่หนักงานของบริษัทที่ยอมพ่นสีรถส่วนตัวเป็น Logo โฆษณาเคลื่อนที่ของบริษัท หรือในงานแสดงสินค้าบางบริษัทให้พนักงานประจำบูธ สกรีนแขนตัวเองด้วยรูป Logo ของบริษัทที่ดูคล้ายรอยสัก หรือแม้กระทั่งเจ้าของสำนักงานตัวแทนขายประกันรถท่านหนึ่งในแภบสมุทรปราการเล่าให้ผมฟังว่าเขาเคยทำโฆษณาร้านเขาบนเรียงเบอร์ โดยการถ่ายเอกสารเรียงเบอร์ลงบนกระดาษที่ด้านหนึ่งเป็นข้อความโฆษณาร้านเขา และจ้างเด็กไปเดินแจกในเย็นวันที่ล็อตเตอรี่ออก โดยผลตอบรับของลูกค้าที่เข้ามาที่สำนักงานเขาเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ผมเชื่อว่า New Media ณ วันนี้ เป็นแค่การเริ่มต้นเท่านั้นในยุคที่ตลาดมีการแบ่งกลุ่มลูกค้าอย่างชัดเจน สื่อโฆษณาที่มีลักษณะ Mass Media แบบเก่าๆดูจะไม่ค่อยได้รับความสนใจจากลูกค้ามากเท่าที่ควรและด้วยธรรมชาติของบริษัทโฆษณา และวงการการตลาดที่มองหาสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ New Media น่าจะเป็นคำตอบที่น่าสนใจและยังมีช่องว่างให้นักคิดในวงการโฆษณาและการตลาด หาวิธีการและสื่อใหม่ๆในการนำเสนอต่อกลุ่มเป้าหมายอยู่เสมอ ก็เรื่องความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆอย่างนี้ คนไทยเราไม่แพ้ใครๆในโลกนี้อยู่แล้วไม่ใช่หรือครับ

ตัวอย่าง new media