วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนวโน้มการนำเสนองานนิเทศศาสตร์


New Media แนวโน้มใหม่ของวงการโฆษณา

ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ผมสังเกตเห็นสีสันใหม่ที่น่าสนใจในแวดวงโฆษณา ไม่เฉพาะแต่ในเมืองไทยเท่านั้น แต่ดูเหมือนจะเกิดขึ้นทั่วโลก นั่นคือการโฆษณาในรูปแบบใหม่ๆ สื่อใหม่ๆ เทคนิคการนำเสนอใหม่ๆ ที่ชวนให้ลูกค้ารู้สึกสะดุด และให้ความสนใจ หรือที่คนโฆษณาเรียกกันว่า “โดน” ใจลูกค้าเช่น ข้อความโฆษณาหลังรถ บขส.ปรับอากาศ ของไทยประกันชีวิต ที่เขียนว่า “อยากเปลี่ยนไปนั่งเครื่องบิน” และ “อยากขับรถส่วนตัวกลับบ้านบ้าง”หรือโฆษณาที่ประตูลิฟท์ในห้างสรรพสินค้า ที่ดูไกลๆเหมือนประตูลิฟท์หนีบมือคน แต่จริงๆแล้วเป็นโฆษณาของน้ำผักผลไม้ยี่ห้อหนึ่ง โฆษณาประเภทที่ผมกล่าวถึงนี้ คนในวงการโฆษณาส่วนใหญ่เรียกว่า “New Media” แต่ถ้าถามต่อว่า New Media คืออะไร คำตอบที่ได้ก็ดูเหมือนจะยังไม่ชัดเจนทีเดียว ผมเลยอยากลองสรุปความหมายของ New Media ตามความเข้าใจของผมว่าหมายถึง “การโฆษณาโดยใช้สื่อ รูปแบบ หรือวิธีนำเสนอใหม่ๆที่แตกต่างไปจากสื่อ หรือวิธีการทั่วๆไปที่เคยใช้กันอยู่ เพื่อเพิ่มความสนใจในการรับรู้ข่าวสารที่นำเสนอต่อกลุ่มเป้าหมาย”
ประเภทของ New Media ออกมาเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1.เป็นการใช้สื่อโฆษณาใหม่ที่ยังไม่เคยถูกใช้มาก่อน (New Type of Media) จะว่าไปแล้วเมื่อ 6-7 ปีก่อนตอน internet ได้รับความนิยม การโฆษณาผ่าน internet ไม่ว่าจะในรูปของการทำ Web site ของบริษัท Banner Ad ใน Web ถือได้ว่าเป็น New Media ปัจจุบัน สื่อประเภทนี้แม้ว่าจะเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย

2. เป็นการอาศัยสภาพแวดล้อม ทำเล หรือลักษณะเฉพาะของสื่อโฆษณาแบบเดิมๆที่มีอยู่ของสื่อมาปรับให้เข้ากับ..หรือรูปแบบของโฆษณาที่นำเสนออย่างสอดคล้องกัน เพื่อเรียกร้องความสนใจ และสร้างความเข้มแข็งให้ข้อความที๋โฆษณา จะเห็นได้ว่าโฆษณาท้ายรถ บขส. ของไทยประกันชีวิต ชุดที่ผมกล่าวถึงไว้แล้ว น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีของ New Media แบบนี้ รวมถึงโฆษณา Feldene Gel ที่เป็นยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อที่เลือกใช้รูปข้อพับแขน ข้อพับขาของคน ติดอยู่ที่บานพับประตูอัตโนมัติของรถเมล์บ้านเรา เวลาประตูเปิด ปิด ก็จะเห็นภาพการยืดหดของข้อพับแขนหรือขา

3.เป็นการหาวิธีใหม่ๆในการนำเสนอที่ต่างไปจากวิธีการเดิมๆ แต่วิธีการนำเสนอใหม่ๆนี้ สอดคล้องหรือเพิ่มน้ำหนักให้กับการนำเสนอ เช่น โปสเตอร์โฆษณาเชิญชวนให้คนบริจาคดวงตาของสภากาชาดอินเดียที่ติดอยู่ตามที่สาธารณะทำโดย สื่อเป็นรูปเด็กตาบอด ยืนหน้าตรง มีข้อความเขียนว่า “ถ้าคุณเข้ามาใกล้พอ และมองตาเขา บางทีคุณอาจจะได้เห็นตาคุณในตาของเขา” ถ้าเราเข้าไปมองดวงตาที่มองไกลๆจะเป็นเป็นรูอยู่ เราจะมองเห็นเงาของดวงตาเรา เพราะเขาเอากระจกเงาติดไว้ในตำแหน่งที่เป็นดวงตาของเด็กตาบอดในโปสเตอร์

4.เป็นการนำสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของคนทั่วๆไป ที่ไม่น่าจะเป็นสื่อโฆษณาได้มาปรับใช้เป็นสื่อโฆษณา เช่น การโฆษณาหลัง สลิบ ATM หรือใบเสร็จที่ซื้อของในซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือในญี่ปุ่นมีการตีพิมพ์โฆษณาบนกระดาษชำระที่ให้บริการในห้องน้ำสาธารณะโดยมีแนวคิดว่า ระหว่างอยู่ในห้องสุขาลูกค้าจะว่างไม่มีอะไรทำ การโฆษณาบนกระดาษชำระจึงน่าจะถูกอ่านมากกว่าสื่อปกติ
ในอเมริกาเอง ยาฮูเคยเสนอเงินจำนวนหนึ่งให้แก่หนักงานของบริษัทที่ยอมพ่นสีรถส่วนตัวเป็น Logo โฆษณาเคลื่อนที่ของบริษัท หรือในงานแสดงสินค้าบางบริษัทให้พนักงานประจำบูธ สกรีนแขนตัวเองด้วยรูป Logo ของบริษัทที่ดูคล้ายรอยสัก หรือแม้กระทั่งเจ้าของสำนักงานตัวแทนขายประกันรถท่านหนึ่งในแภบสมุทรปราการเล่าให้ผมฟังว่าเขาเคยทำโฆษณาร้านเขาบนเรียงเบอร์ โดยการถ่ายเอกสารเรียงเบอร์ลงบนกระดาษที่ด้านหนึ่งเป็นข้อความโฆษณาร้านเขา และจ้างเด็กไปเดินแจกในเย็นวันที่ล็อตเตอรี่ออก โดยผลตอบรับของลูกค้าที่เข้ามาที่สำนักงานเขาเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ผมเชื่อว่า New Media ณ วันนี้ เป็นแค่การเริ่มต้นเท่านั้นในยุคที่ตลาดมีการแบ่งกลุ่มลูกค้าอย่างชัดเจน สื่อโฆษณาที่มีลักษณะ Mass Media แบบเก่าๆดูจะไม่ค่อยได้รับความสนใจจากลูกค้ามากเท่าที่ควรและด้วยธรรมชาติของบริษัทโฆษณา และวงการการตลาดที่มองหาสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ New Media น่าจะเป็นคำตอบที่น่าสนใจและยังมีช่องว่างให้นักคิดในวงการโฆษณาและการตลาด หาวิธีการและสื่อใหม่ๆในการนำเสนอต่อกลุ่มเป้าหมายอยู่เสมอ ก็เรื่องความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆอย่างนี้ คนไทยเราไม่แพ้ใครๆในโลกนี้อยู่แล้วไม่ใช่หรือครับ

ตัวอย่าง new media

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น